Thursday, December 11, 2014

Flowchart (รูปเเบบการเขียนผังงาน)

Flowchart Sequence การเขียนผังงานแบบตามลำดับ

English
A sequence is a flowchart structure that represents a series of steps to be performed one after another. It is probably the most basic flowchart concept and is commonly used outside of flowchart design in the form of any sequential step-by-step guide. Some common sequence structures are everyday things like a recipe for making bread, instructions for assembling a toy, or driving directions to a location. Should a sequence structure be all that is necessary in a flowchart diagram being designed, perhaps a numbered list is more appropriate than a flowchart. However, if a conceptual list of steps or instructions needs to account for things like potential detours for road construction while driving, then a flowchart can be much more useful to illustrate alternative routes and choices.
ไทย
เป็นลักษณะโครงสร้างพื้นฐานของผังงานทุกผังงาน ลักษณะการทำงานของโครงสร้างผังงานแบบลำดับจะทำงานทีละขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ลำดับการทำงานของผังงานจะทำงานตามทิศทางของลูกศร โครงสร้างของผังงานแบบลำดับการทำงานจะเริ่มต้นทำงานในกระบวนการที่ 1 (Process 1) เมื่อทำงานในกระบวนการที่ 1 เสร็จ ขั้นตอนต่อไป คือ ทำงานในกระบวนการที่ 2 เมื่อทำงานในกระบวนการที่ 2 เสร็จ จึงทำงานในกระบวนการที่ 3 เป็นขั้นตอนต่อไป ตามลำดับ การทำงานจะทำงานทีละ 1 กระบวนการ การทำงานจะไม่ทำงานหลายกระบวนการพร้อมกันกระบวนการในการทำงานที่ 1 , 2 และ 3 อาจเป็นการรับข้อมูลเข้า การแสดงผลข้อมูล หรือการคำนวณ

Flowchart Decision การเขียนผังงานแบบทางเลือก/การตัดสินใจ

English
The decision structure in a flowchart diagram is used when there is appropriately a decision to be made about how to proceed according to what the current state of program data or progress of a project actually is. A decision structure is also known as a conditional. In programming, a conditional is a common tool used to help a program make a decision about what to do. A conditional is also known as an "if, then" statement in programming languages. For instance, if a user has clicked a certain button on the screen already, then go to step 1. If a user has not clicked the button, then go to step 2. A streetlight on a road is similar to the concept of a decision structure. If the light is green, then go. If it is red, then stop.
ไทย
โครงสร้างผังงานการทำงานแบบเลือกทำ ใช้สำหรับกรณีที่ต้องการตัดสินใจเพื่อเลือกขั้นตอนการ   ทำงานที่เหมาะสมกับข้อมูลที่ทำการประมวลผลในขณะนั้น โครงสร้างผังงานการเลือกทำประกอบด้วยสัญลักษณ์ของการตัดสินใจ 1 สัญลักษณ์ เพื่อใช้สำหรับการตัดสินใจสำหรับเลือกการทำงานที่ต้องทำเป็นลำดับถัดไป
การทำงานหลังจากการตรวจสอบเงื่อนไข จะมีการทำงานอยู่ 2 กรณีคือ
1. กรณีที่มีการทำงานเพียงขั้นตอนเดียว ในกรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริง หรือเป็นเท็จ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
2. กรณีที่มีการทำงาน 2 ขั้นตอน คือมีขั้นตอนการทำงานให้ ไม่ว่าผลการตรวจสอบเงื่อนไขจะเป็นจริงหรือเป็นเท็จ
จากโครงสร้างผังงานการเลือกทำ ขั้นตอนแรกของการทำงานคือ การพิจารณาเงื่อนไข (Condition) ที่ใช้สำหรับตัดสินใจเลือกขั้นตอนการทำงานที่ต้องทำเป็นลำดับถัดไป ถ้าผลที่ได้จากการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริง ขั้นตอนการทำงานที่ต้องทำเป็นลำดับถัดไปคือ การทำงานของกระบวนการที่ 1 ถ้าผลที่ได้จากการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นเท็จ ขั้นตอนการทำงานที่ต้องทำเป็นลำดับถัดไปคือ ส่วนของกระบวนการที่ 2 โดยเลือกทำงานเพียงกระบวนการเดียว ไม่ทำงานทั้ง 2 กระบวนการพร้อมกัน การทำงานของแต่ละกระบวนการ หมายถึง การทำงานในแต่ละลักษณะ สามารถเป็นได้ทั้งการรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูล หรือการคำนวณ และยังสามารถนำเอาโครงสร้างผังงานลักษณะอื่นมาเป็นกระบวนการทำงานในแต่ละขั้นตอนได้

Flowchart Loop/Iteration การเขียนผังงานแบบวนซ้ำ/ทวนซ้ำ

English
The loop structure is used in a flowchart to indicate where a program or person should repeat multiple steps until a certain condition is present. For instance, if a program is going to make a stack of 10 circles appear on the screen prior to continuing, then a loop structure would say to see how many circles are on screen and then make more until there are 10. Then it would proceed out of the loop. A more everyday example could be a person saving up to purchase an item. After every bank deposit, they may look at the balance to see if they are ready to make the purchase. It should be noted that a task in a flowchart loop structure can be completed before or after the step where the current condition is requested.


















ไทย
ลักษณะโครงสร้างผังงานการทำงานแบบทำซ้ำ ใช้ประโยชน์ในกรณีที่ต้องการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำกันหลายครั้ง โครงสร้างผังงานแบบทำซ้ำจะประกอบไปด้วยสัญลักษณ์การตัดสินใจ ใช้สำหรับตรวจสอบเงื่อนไขเพื่อตัดสินใจว่า จะเข้าสู่ขั้นตอนการทำซ้ำหรือไม่
ลักษณะการทำซ้ำ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ
1. ทำในขณะที่
2. ทำจนกระทั่ง

การทำงานของโครงสร้างผังงานการทำซ้ำลักษณะทำในขณะที่ (Do - While) ขั้นตอนแรกของการทำงาน คือ การตรวจสอบเงื่อนไขการทำซ้ำ ถ้าผลที่ได้จากการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริงจึงเข้าสู่ขั้นตอนของการทำงานในส่วนของการทำซ้ำ
การทำซ้ำในลักษณะทำจนกระทั่ง ลักษณะของโครงสร้างผังงานการทำซ้ำลักษณะทำจนกระทั่ง (Do - Until) ขั้นตอนแรกของการทำงาน คือ ทำขั้นตอนการทำงานที่ต้องการทำซ้ำก่อนอย่างน้อยหนึ่งครั้ง หลังจากนั้นจึงทำการตรวจสอบเงื่อนไขสำหรับพิจารณาว่า จะกลับไปทำกระบวนการทำงานที่ต้องทำซ้ำหรือไม่







No comments:

Post a Comment